วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551

หม่ำ จ๊กมก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา)
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

หม่ำ จ๊กมก
หม่ำ จ๊กมก มีชื่อจริงว่า เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (2508 - )เป็นนักแสดงตลกชื่อดังจากแก๊งสามช่า และเป็นผู้กำกับภาพยนตร์


ประวัติ

หม่ำ จ๊กมก เกิดปีพ.ศ. 2508 เป็นคนจังหวัดยโสธร หนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16-17 ปี เคยเล่นตลกอยู่คณะของเทพ โพธิ์งาม หม่ำเรียนกศน.จบชั้น ม.6 แล้ว จบพร้อมกับ ลีซอ ที่เรียนสถาบันเดียวกันและเวลาเดียวกัน ขณะนี้กำลังศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผลงาน

รายการโทรทัศน์

ชิงร้อยชิงล้าน (2537 - ปัจจุบัน)
หม่ำโชว์ (2548 - ปัจจุบัน)
ชัยบดินทร์โชว์ (2546 - 2550 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว)
ระเบิดเถิดเทิง (2539 - 2544 : ปัจจุบันไม่ร่วมรายการแล้ว)
โคกคูนตระกูลไข่ (2546 : ปัจจุบันเลิกออกอากาศแล้ว)
เวทีทอง (2537 - 2547 : ปัจจุบันเลิกออกอากาศแล้ว)

ภาพยนตร์

บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 (2550) แสดงเป็น คำเหลา/มัมมี่เหลา (เป็นผู้กำกับด้วย)
วาไรตี้ ผีฉลุย (2548) แสดงเป็น ต้อม เป็นเลิศ
แหยม ยโสธร (2548) แสดงเป็น แหยม (เป็นผู้กำกับด้วย)
ต้มยำกุ้ง (2548) แสดงเป็น จ่ามาร์ค
พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า (2548) แสดงเป็น อาทิตย์
เฉิ่ม (2548) แสดงเป็น สมบัติ ดีพร้อม
หลวงพี่เท่ง (2548) แสดงเป็น นักเลงหน้าเหลี่ยม
สายล่อฟ้า (2547) แสดงเป็น เฮียหมา
บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547) แสดงเป็น วงศ์คม (เป็นผู้กำกับด้วย)
องค์บาก (2546) แสดงเป็น อ้ายห่ำแหล่/ยอร์จ
มือปืน โลก/พระ/จัน (2544) แสดงเป็น หมา ลูกบักเขียบ
โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง (2549)
เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย (2550)
ก่อนบ่ายคลายเครียดเดอะมูฟวี่ ตอนรักนะ...พ่อ ต๊ะ ติ๊ง โหน่ง (2550)
หม่ำเดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม (2551)

แก้ไข ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงค์สถาปัตย์

วิกิพีเดียยังไม่มีบทความชื่อ "ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงค์สถาปัตย์" (ค้นหา ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงค์สถาปัตย์ ในวิกิพีเดีย)
เริ่มบทความใหม่โดยพิมพ์ข้อความลงในกล่องด้านล่างนี้แล้วกดปุ่ม "บันทึก" การแก้ไขของคุณจะปรากฎทันที
เริ่มเขียนครั้งแรก แนะนำให้อ่านที่หน้าการเริ่มต้นและบทความแรกของฉัน และสามารถทดลองเขียนได้ที่หน้ากระบะทราย
โปรดอย่าสร้างบทความที่มีเนื้อหาเป็นชื่อ หรือ เนื้อหาที่ไม่เหมาะกับสารานุกรม เพราะจะถูกลบทันที (อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย)
ดูบทความอื่นที่กล่าวถึง ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงค์สถาปัตย์

ปรัชญา ปิ่นแก้ว

ปรัชญา ปิ่นแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักเขียนบทภาพยนตร์ และ ผู้ควบคุมการสร้าง ผลงานภาพยนตร์สร้างชื่อคือเรื่อง องค์บาก และ ต้มยำกุ้ง

ประวัติ
ปรัชญา ปิ่นแก้ว เกิดที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนสุขานารี ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบุญวัฒนา และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
เขาได้เริ่มผู้กำกับศิลป์ให้กับบริษัท แพคช๊อท ในปี 2530 ในตำแหน่งอาร์ทไดเร็คเตอร์ และ ตำแหน่งครีเอทีฟ โดยเป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ ได้รับรางวัลจากการประกวดอยู่หลายหน โดยเฉพาะได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม 4 ครั้ง จากเพลงเก็บตะวัน ของอิทธิ พลางกูร เพลงลูกผู้ชาย ของฉัตรชัย เปล่งพานิช เพลงกระจกร้าว ของไฮร็อค และเพลงไวกว่าแสงของ หรั่ง ร็อคเครสตร้า
ปี พ.ศ. 2537 ได้เริ่มงานกำกับภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เกิดอีกทีต้องมีเธอ ,ปอบหวีดสยอง ,มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม ,7 ประจัญบาน ,FAKE โกหกทั้งเพ เฮี้ยน นายอโศกกับนางสาวเพลินจิต, คน ผี ปีศาจ, บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม,เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์,เกิดมาลุย,7 ประจัญบาน 2,ฟอร์มาลีนแมน,รักเธอเท่าฟ้า,เฉิ่ม,เสือร้องไห้,มนุษย์เหล็กไหล ฯลฯ และภาพยนตร์ที่สร้างชื่อคือ องค์บาก และ ต้มยำกุ้ง
เขาได้ลาออกจากบริษัทอาร์เอสฟิล์มเมื่อปี 2541 มาเปิดบริษัทบาแรมยู

องค์บาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


องค์บาก (Ong Bak) ภาพยนตร์แอกชั่นของไทย

ข้อมูล

ชื่ออื่น : Ong Bak: Muay Thai Warrior
ประเภท : Action
เข้าฉาย : 31 มกราคม พ.ศ. 2546
ผู้กำกับ : ปรัชญา ปิ่นแก้ว, พันนา ฤทธิไกร (กำกับคิวบู๊)
แสดงนำ : พนม ยีรัมย์, เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก), ภุมวารี ยอดกมล
ลิขสิทธิ์ : สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล

เรื่องย่อ

"องค์บาก" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของหมู่บ้านหนองประดู่ ได้ถูกขโมยตัดเศียรไป บุญทิ้ง หนุ่มบ้านหนองประดู่ จึงอาสาออกตามหามาจนถึงกรุงเทพฯ จนได้เจออ้ายหำแหล่หรือ ยอร์จ ลูกชายผู้ใหญ่บ้านที่ทิ้งทองนามาเป็น 18 มงกุฎ ต้มตุ๋นชาวบ้านเพื่อเลี้ยงปากท้อง บุญทิ้งจึงไม่วายถูกหลอก ด้วยความที่เป็นคนดีและเคยช่วยเหลือชีวิตทั้งสองไว้ จึงได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองในการตามหาองค์บาก พร้อมถูกดึงเข้าสู่การต่อสู้กับเจ้าพ่ออิทธิพลมืดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด บุญทิ้งจึงขอต่อสู้ถวายชีวิตด้วยศิลปะมวยไทยโบราณตลอดจนการเดินทางตามหาองค์บากเพื่อนำกลับคืนสู่หมู่บ้านให้ทันพิธีอุปสมบทหมู่ซึ่งจะจัดขึ้นในอีก 7 วัน

กำกับ
ปรัชญา ปิ่นแก้ว
อำนวยการสร้าง
ปรัชญา ปิ่นแก้ว, สุกัญญา วงค์สถาปัตย์
บทภาพยนตร์
ศุภชัย สิทธิอำพรพรรณ
นักแสดงนำ
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลาพนม ยีรัมย์ภุมวารี ยอดกมลสุเชาว์ พงษ์วิไลเชษฐวุฒิ วัชรคุณวรรณกิตย์ ศิริพุฒ
เพลงประกอบ
Atomix Clubbing Studio
กำกับภาพ
ณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อ
ธนัติ สุนสิน, ฐานพัฒน์ ทวีสุข
จัดจำหน่าย
สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันที่เข้าฉาย
31 มกราคม 2546
ความยาว
105 นาที
ภาษา
ไทย
งบประมาณ
35 ล้านบาท


แคว้นมาดริด


แคว้นมาดริด (Community of Madrid) เป็น 1 ในแคว้นปกครองตนเอง 17 แห่งของประเทศสเปน ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศ โดยเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับจังหวัดมาดริดและเป็นที่ตั้งของกรุงมาดริดซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ของแคว้น และของประเทศ แคว้นมาดริดนี้มีเทศบาลอยู่ 179 แห่ง
แคว้นมาดริดมีอาณาเขตทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นคาสตีลและเลออน (จังหวัดอาบีลาและจังหวัดเซโกเบีย) ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศใต้ติดต่อกับแคว้นคาสตีล-ลามันชา (จังหวัดกวาดาลาฮารา จังหวัดเกวงกา และจังหวัดโตเลโด)
ประชากรของแคว้นมาดริดจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ส่วนเมืองสำคัญทางการค้าหรือประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในแคว้นนี้ได้แก่ อัลกาลาเดเอนาเรส โกสลาดา ตอร์เรคอนเดอาร์โดซ เคตาเฟ โมสเตเลส ซานโลเรนโซเดเอลเอสโกเรียล นาบัลการ์เนโร และอารันคูเอซ
ก่อนหน้าที่จะเป็นแคว้นนั้น จังหวัดมาดริดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคาสตีลใหม่ (แคว้นคาลตีล-ลามันชาปัจจุบัน) มาก่อน เมื่อรูปแบบการปกครองแบบแคว้นปกครองตนเองได้รับการจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ค.ศ. 1978 จึงมีการตั้งจังหวัดนี้ให้มีฐานะเป็นแคว้นในตนเอง เนื่องจากสภาพความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างจังหวัดนี้กับท้องที่อื่น ๆ ในแคว้นคาสตีล-ลามันชา โดยมาดริดได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแคว้นตามกฎหมายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ส่วนกฎหมายปกครองตนเองก็ผ่านการอนุมัติในวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกัน

แคว้นคาเทโลเนีย


คาเทโลเนีย (Catalonia) เป็นแคว้นปกครองตนเองในประเทศสเปน โดยมีสถานะเป็นภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ (historical region) ในรัฐธรรมนูญสเปนและถูกกำหนดให้เป็นชาติ (nation) ในกฎหมายปกครองตนเองของแคว้น พื้นที่ของแคว้นนี้เป็นพื้นที่เดียวกับส่วนใหญ่ของราชรัฐคาเทโลเนีย (Principality of Catalonia) ในอดีต
คาเทโลเนียมีเนื้อที่ 32,114 ตารางกิโลเมตรพร้อมกับจำนวนประชากร 7,083,600 คน (พ.ศ. 2549) ผู้ย้ายถิ่นเข้ามาจากนอกประเทศสเปนมีจำนวนร้อยละ 12.2 ของประชากรทั้งหมด[1][2].
ภาษาราชการได้แก่ภาษาคาตาลันและภาษาสเปน ส่วนในหุบเขาอารัน ภาษาอ็อกซิตัน (ภาษาอารัน) ก็เป็นภาษาราชการด้วย

แคว้นบาเลนเซีย


แคว้นบาเลนเซีย (Valencian Community) มีชื่อทางการเป็นภาษาบาเลนเซีย[1] คือ โกมูนีตัต วาเลนเซียนา (Comunitat Valenciana) ซึ่งในภาษาสเปนเรียกว่า โกมูนีดัด บาเลนเซียนา (Comunidad Valenciana) เป็นแคว้นปกครองตนเองที่ตั้งอยู่ทางตอนกลาง-ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสเปน ประกอบด้วย 3 จังหวัด เรียงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดอาลีกันเต/อาลากันต์ จังหวัดบาเลนเซีย/วาแลนเซีย และจังหวัดกัสเตยอง/กัสเตโย (ชื่อในภาษาสเปน/ภาษาบาเลนเซีย) [2]
แคว้นบาเลนเซียมีชายฝั่งติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยาว 518 กิโลเมตร มีเนื้อที่ในปกครอง 23,255 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 4.8 ล้านคน (พ.ศ. 2548) ตามกฎหมายปกครองตนเองของแคว้น บาเลนเซียได้รับการจัดให้เป็นสัญชาติ (nationality) มีภาษาราชการ 2 ภาษา คือภาษาคาสตีลและภาษาบาเลนเซีย (ชื่อเรียกของภาษาคาตาลันในแคว้นนี้) ส่วนเมืองหลักของแคว้นคือ เมืองบาเลนเซีย

บาเลนเซีย ประเทศสเปน

สำหรับเมือง บาเลนเซีย หรือ วาเลนเซีย อื่น ๆ ดูที่ วาเลนเซีย (แก้ความกำกวม)

บาเลนเซีย (Valencia) ; ภาษาสเปนแบบคาสตีล: Valencia [ba'lenθja][1]; ภาษาบาเลนเซีย: València [va'łεnsia]) เป็นเมืองหลวงของแคว้นบาเลนเซียและจังหวัดบาเลนเซีย เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศสเปนและเป็นย่านอุตสาหกรรมใหญ่ริมชายฝั่งโกสตาเดลอาซาอาร์ (Costa del Azahar) ในปี พ.ศ. 2549 เฉพาะเมืองนี้มีจำนวนประชากรคือ 807,396 คน ส่วนประชากรในเขตมหานคร (เขตเมืองรวมกับเมืองบริวาร) มีจำนวน 1,807,396 คน นายกเทศมนตรีของเมืองปัจจุบันคือ นางรีตา บาร์เบรา โนยา (Rita Barberá Nolla)
เมืองบาเลนเซียมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีฤดูร้อนที่แห้งอบอุ่นและอากาศหนาวที่ไม่รุนแรง


ชื่อเมือง


ชื่อดั้งเดิมของเมืองในภาษาละตินคือ "วาเลนเตีย (Valentia) " /wa'lentia/ หมายถึง "ความแข็งแกร่ง" (Vigour) ต่อมาในสมัยการปกครองของพวกมัวร์ เมืองนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "บะลันซียะห์ (Balansiya) " ในภาษาอาหรับ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเสียง ชื่อเมืองนี้จึงกลายเป็น "บาเลนเซีย" /ba'lenθja/ ไปในภาษาสเปนแบบคาสตีล และเป็น "วาแลนเซีย" /va'łεnsia/ หรือ "วาเลนเซีย" /va'lensia/ ในภาษาบาเลนเซีย


อ้างอิงและหมายเหตุ

การออกเสียง "วาเลนเซีย" [va'lenθja] พบได้ทั่วไปในบริเวณเมืองบาเลนเซีย แม้ว่าจะไม่ใช่มาตรฐานของภาษาสเปนแบบคาสตีล (Castilian Spanish) ก็ตาม เนื่องจากไม่มีเสียง [v] ในภาษาสเปนแบบคาสตีล แต่เสียงนี้มีปรากฏในภาษาบาเลนเซีย (Valencian) และแทนด้วยตัวอักษร v

ประเทศสเปน

ขนาดและที่ตั้ง



ประเทศสเปนมีเนื้อที่ 504,782 ตารางกิโลเมตร (194,884 ตารางไมล์)[14] มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก (รองจากประเทศไทย) มีขนาดพอ ๆ กับประเทศเติร์กเมนิสถาน และค่อนข้างจะใหญ่กว่ารัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา โดยนอกจากจะมีพื้นที่บนคาบสมุทรไอบีเรียแล้ว อาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงหมู่เกาะแบลีแอริกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หมู่เกาะคะเนรีในมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองเซวตา และเมืองเมลียา ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ (สเปนจึงมีอาณาเขตติดต่อกับโมร็อกโกด้วย) และเกาะเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของช่องแคบยิบรอลตาร์ ที่เรียกว่า ปลาซัสเดโซเบรานีอา (Plazas de soberanía) เช่น เกาะชาฟารีนัส เกาะอัลโบรัง โขดหินเบเลซเดลาโกเมรา โขดหินอาลูเซมัส และเกาะเปเรคิล ทางทิศเหนือในแนวเทือกเขาพิเรนีส เมืองเล็ก ๆ ที่เป็นดินแดนส่วนแยก (exclave) ชื่อ ยีเบีย (Llívia) ในแคว้นคาเทโลเนีย มีดินแดนประเทศฝรั่งเศสล้อมรอบอยู่

ที่ตั้ง

ประเทศสเปน (แผ่นดินใหญ่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย
ทิศเหนือ จรดทะเลกันตาเบรีย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชรัฐอันดอร์รา
ทิศตะวันออก จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศใต้ จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลตาร์ และอ่าวกาดิซ
ทิศตะวันตก จรดสาธารณรัฐโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก

เขตแดน

เขตแดนทางบก:
ทั้งหมด: 1,917.8 กิโลเมตร
ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ: อันดอร์รา 63.7 กิโลเมตร, ฝรั่งเศส 623 กิโลเมตร, ยิบรอลตาร์ 1.2 กิโลเมตร, โปรตุเกส 1,214 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เซวตา) 6.3 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เมลียา) 9.6 กิโลเมตร
ชายฝั่งทะเล:
4,964 กิโลเมตร
การอ้างสิทธิ์ทางทะเล:
เขตนอกน่านน้ำอาณาเขต: 24 ไมล์ทะเล (44 กิโลเมตร)
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ: 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) (เฉพาะในมหาสมุทรแอตแลนติก)
ทะเลอาณาเขต: 12 ไมล์ทะเล (22 กิโลเมตร)
ระดับความสูง:
จุดต่ำสุด: มหาสมุทรแอตแลนติก 0 เมตร
จุดสูงสุด: ยอดเขาเตย์เด (Pico del Teide) ในหมู่เกาะคะเนรี สูง 3,718 เมตร หมายเหตุ ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคพื้นทวีปของสเปนคือ มูลาเซน (Mulhacén) ในจังหวัดกรานาดา แคว้นอันดาลูเซีย สูง 3,481 เมตร




ลักษณะภูมิประเทศ

แผ่นดินใหญ่ของประเทศสเปนมีลักษณะเด่นคือ เป็นที่ราบสูงและแนวภูเขา เช่น เทือกเขาพิเรนีส เซียร์ราเนวาดา โดยมีแม่น้ำสายหลักหลายสายที่ไหลจากบริเวณที่สูงเหล่านี้ ได้แก่ แม่น้ำเทกัส (Tagus) แม่น้ำเอโบร (Ebro) แม่น้ำดวยโร (Duero) แม่น้ำกวาเดียนา (Guadiana) และแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ (Guadalquivir)
ส่วนที่ราบตะกอนน้ำพาพบได้ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล โดยที่มีใหญ่ที่สุดได้แก่ ที่ราบตะกอนน้ำพาของแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ในแคว้นอันดาลูเซีย ส่วนในภาคตะวันออกจะมีที่ราบชนิดนี้บริเวณแม่น้ำขนาดกลาง เช่น แม่น้ำเซกูรา (Segura) แม่น้ำคูการ์ (Júcar) แม่น้ำตูเรีย (Turia) เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสเปนเอง ที่ส่วนเหนือนั้นอยู่ในทิศทางของกระแสลมกรด รวมทั้งสภาพพื้นที่และภูเขา จึงทำให้ภูมิอากาศของประเทศนี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยแบ่งหยาบ ๆ ได้ตามบริเวณต่าง ๆ ต่อไปนี้
เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณพื้นที่ตอนในของคาบสมุทร เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ มาดริด
เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กินพื้นที่ตั้งแต่ที่ราบอันดาลูเซียตามชายฝั่งทางใต้และตะวันออก เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บาร์เซโลนา
เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร ได้แก่บริเวณแคว้นกาลิเซียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และชายฝั่งทะเลกันตาเบรีย (อ่าวบิสเคย์) ซึ่งมักเรียกบริเวณนี้ว่า "สเปนเขียว (Green Spain)" เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บิลบาโอ
และสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศได้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนเหนือและตะวันออก (คาเทโลเนีย บาเลนเซียภาคเหนือ และหมู่เกาะแบลีแอริก): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัด สัมพันธ์กับอากาศที่อบอุ่นจนถึงเย็นในฤดูหนาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 600 มิลลิเมตรต่อปี[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ถือเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกเฉียงใต้ (อาลีกันเต มูร์เซีย และอัลเมรีอา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นจนถึงเย็น กาโบเดกาตา (ได้รับรายงานว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศแห้งที่สุดในยุโรป[ต้องการแหล่งอ้างอิง]) มีอากาศแห้งมากและกึ่งทะเลทรายอย่างแท้จริง ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีเพียง 150 มิลลิเมตรต่อปี[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ส่วนใหญ่พื้นที่นี้จึงถูกจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนใต้ (พื้นที่มาลากาและชายฝั่งของกรานาดา): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 20 องศาเซเลเซียสและมีอากาศชื้น[ต้องการแหล่งอ้างอิง] มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อน
หุบเขากวาดัลกีวีร์ (เซวิลล์และกอร์โดบา): ฤดูร้อนมีอากาศแห้งและร้อนจัด ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด
ชายฝั่งแอตแลนติกตะวันตกเฉียงใต้ (กาดิซและอวยลวา): ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างสบาย ไม่รุนแรง อากาศชื้น
ที่ราบสูงภายใน: ฤดูหนาวอากาศหนาว (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่) ฤดูร้อนอากาศร้อน มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป และถือว่ามีอากาศแห้ง (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 400-600 มิลลิเมตร[ต้องการแหล่งอ้างอิง])
หุบเขาเอโบร (ซาราโกซา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ใกล้เคียงกับภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปเช่นกัน ถือว่ามีอากาศแห้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
ชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ หรือ "สเปนเขียว" (กาลิเซีย อัสตูเรียส ชายฝั่งบาสก์): อากาศชื้นมาก (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 1,000 มิลลิเมตร และบางจุดมากกว่า 1,200 มิลลิเมตร[ต้องการแหล่งอ้างอิง]) ส่วนฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย มักจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร
เทือกเขาพิเรนีส: โดยรวมมีอากาศชื้น ฤดูร้อนมีอากาศเย็น ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น จุดสูงสุดของเทือกเขามีภูมิอากาศแบบแอลป์
หมู่เกาะคะเนรี: เป็นเขตภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อนตามเงื่อนไขของอุณหภูมิ โดยมีอากาศไม่หนาวจัดและค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี (18-24 องศาเซลเซียส; 64-75 องศาฟาเรนไฮต์) โดยในหมู่เกาะทางตะวันออกมีอากาศแบบทะเลทราย ส่วนในหมู่เกาะทางตะวันตกจะมีอากาศชื้น จากการศึกษาของโทมัส วิตมอร์ (Thomas Whitmore) หัวหน้าการวิจัยทางภูมิอากาศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Syracuse สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมืองลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย (Las Palmas de Gran Canaria) มีภูมิอากาศที่ดีที่สุดในโลก[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

ประเทศสเปน







จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สเปน (Spain) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain)[1] เป็นประเทศทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรียร่วมกับโปรตุเกสและอันดอร์รา สเปนมีพรมแดนติดกับฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเทือกเขาพิเรนีส
ชนชาติต่าง ๆ ได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนที่เป็นประเทศสเปนตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น เคลต์ ไอบีเรียน โรมัน วิซิกอท และมัวร์ ในยุคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิมเป็นเวลาอย่างน้อยห้าร้อยปี พวกมัวร์ยังคงหลงเหลืออยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) ซึ่งเป็นปีที่ราชอาณาจักรคาสตีลและอารากอนสามารถขับไล่พวกมัวร์ออกไปได้สำเร็จหลังจากเกิดกระบวนการพิชิตดินแดนคืนที่ยาวนานถึง 770 ปี และในปีเดียวกัน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสยังได้ค้นพบโลกใหม่ นำไปสู่การกำเนิดจักรวรรดิสเปนที่แผ่ขยายไปทั่วโลก สเปนกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรปขณะนั้น แต่สงครามที่มีอย่างต่อเนื่องและปัญหาอื่น ๆ ก็ทำให้ความยิ่งใหญ่ของประเทศลดลงไป ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนมีการปกครองระบอบเผด็จการ แต่ปัจจุบันปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่มีการผ่านรัฐธรรมนูญของสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521)
ชื่อประเทศ สเปน (Spain หรือ España ในภาษาสเปน) มาจากชื่อเรียกในภาษาละตินว่า ฮิสปาเนีย (Hispania)

การแบ่งเขตการปกครอง

ดูบทความหลักที่ เขตการปกครองของสเปน
ประเทศสเปนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แคว้นปกครองตนเอง (autonomous communities) และ 2 นครปกครองตนเอง (autonomous cities) แต่ละแคว้นจะแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น จังหวัด (provinces) รวมทั้งหมด 50 จังหวัด

แคว้นและนครปกครองตนเอง

กรุงมาดริด

เมืองบาร์เซโลนา
ปัจจุบันประเทศสเปนได้ชื่อว่าเป็น "รัฐแห่งการปกครองตนเอง (State of Autonomies)" แม้ว่าโดยทางการจะถือว่าเป็นรัฐเดี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วมีลักษณะเป็นรัฐรวมที่มีการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางอย่างมาก โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเปิดโอกาสให้แคว้นต่าง ๆ มีสิทธิในการปกครองตนเองได้ในระดับที่ต่างกันตามภูมิหลังการปกครองตนเองของแต่ละแคว้น[13] เช่น ทุกแคว้นจะจัดการด้านสาธารณสุขและระบบการศึกษาของตนเอง บางแคว้น (เช่น บาสก์และนาวาร์) มีหน้าที่จัดการด้านการเงินสาธารณะเพิ่มเติม ในแคว้นบาสก์และคาเทโลเนีย หน่วยงานตำรวจของแคว้นจะมีบทบาทหน้าที่มากกว่าหน่วยงานตำรวจของส่วนกลาง เป็นต้น โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติของแต่ละแคว้นจะดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปีเช่นเดียวกับสมาชิกรัฐสภา โดยแคว้นปกครองตนเอง (comunidades autónomas) และนครปกครองตนเอง* (ciudades autónomas) ของประเทศสเปน ประกอบด้วย

อัสตูเรียส
หมู่เกาะแบลีแอริก
บาสก์
หมู่เกาะคะเนรี
กันตาเบรีย
คาสตีล-ลามันชา
คาสตีลและเลออน
คาเทโลเนีย
จังหวัด

นอกจากแคว้นปกครองตนเองดังกล่าวแล้ว สเปนยังมีโครงสร้างจังหวัดอีกด้วย โดยแบ่งออกเป็น 50 จังหวัด (provinces - provincias) โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างรอง ถัดจากระดับแคว้นปกครองตนเองลงไป (ย้อนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2376) ดังนั้น แคว้นปกครองตนเองจึงเกิดขึ้นจากกลุ่มของจังหวัด (เช่น เอกซ์เตรมาดูราประกอบด้วยจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดบาดาโฮซ) แต่แคว้นปกครองตนเองอัสตูเรียส หมู่เกาะแบลีแอริก กันตาเบรีย ลารีโอคา นาวาร์ มูร์เซีย และมาดริด แต่ละแคว้นดังกล่าวจะมีอยู่เพียงจังหวัดเดียว และแต่เดิมจังหวัดในแคว้นต่าง ๆ มักจะถูกแบ่งลงไปเป็น โกมาร์กัส (comarcas) เป็นเขตทางประวัติศาสตร์ที่มีรูปแบบคล้ายกับเคาน์ตีในสหรัฐอเมริกา แต่ในบางแคว้นจะไม่มี เขตการบริหารระดับล่างสุดจริง ๆ แล้วคือ เทศบาล (municipalities - municipios)

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

ลอนดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ลอนดอน (อังกฤษ: London) เป็นเมืองหลวงของแคว้นอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป [1]
ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน[2] การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ และเป็นที่ยอมรับว่ามีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็น 19.5% ของสหราชอาณาจักร
ลอนดอนมีประชาการประมาณ 7.5 ล้านคน (เมื่อ พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมเขตปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา[3] เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์
ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเดินทางนานาชาติ และเป็นจุดหมายท่องเที่ยวสำคัญ

ประวัติศาสตร์

ชื่อ ลอนดอน คาดว่ามาจากเมืองที่ตั้งในสมัยโรมันว่า ลอนดิเนียม (Londinium) และเพี้ยนมาเป็นลอนดอนในภายหลัง
ลอนดอนประสบเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1666 ส่งผลให้เลข 666 กลายเป็นเลขแห่งโชคร้าย การสร้างเมืองใหม่ใช้เวลา 10 ปี แต่ลอนดอนยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 19

เศรษฐกิจ

ลอนดอนถูกจัดอับดับโดยมาสเตอร์การ์ด เวิรลด์ไวด์ ว่าเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อันดับหนึ่งของโลก

ปารีส


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นคุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม - การอ้างอิงแหล่งที่มา วิธีการเขียน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย

หอไอเฟล
ปารีส เป็นเมืองหลวง ของประเทศฝรั่งเศส เมื่อรวมเขตเมืองรอบ ๆ แล้วมีประชากรทั้งหมด 11.5 ล้านคน (ข้อมูลเดือนมกราคม ค.ศ. 2004) ตัวนครปารีสเองมีฐานะเป็นจังหวัด (Département) หนึ่ง
นครปารีสเป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของ
ทวีปยุโรปคู่กับลอนดอน. ปารีสมีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากกว่าประเทศออสเตรเลียทั้งประเทศ และตลาดหลักทรัพย์ Euronext ยังเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป
ปารีสเป็นหนึ่งใน 4 นครสำคัญของโลก อีกสามนครคือ
ลอนดอน, โตเกียว และ นิวยอร์ก

ประวัติ

ที่มาของปารีสก็คือ ปารีสสี่ (Parisii) เป็นภาษาเควด์ ซึ่งหมายความว่า ชาวบ้านนอก คนเถื่อน แต่ก็มีที่มาอีกภาษาหนึ่งก็คือ ภาษาฟินแลนด์

ภาพพาโนรามาของมหานครปารีส

แหล่งข้อมูลอื่น

กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

พนม ยีรัมย์ พระเอกบู๊ชื่อดัง


ลูกชายเมืองช้างสุรินทร์ "จา" พนม ยีรัมย์ หรือ Tony Ja เกิด 5 กุมภาพันธ์ 2519 เป็นเบอร์ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ชื่อจริงก่อนเข้าวงการคือ วรวิทย์ ใช้มาจนถึง 31 กรกฎาคม 2541 แล้วเปลี่ยนเป็น พนม ยีรัมย์ เพราะพ่อฝันว่ามีคนแก่ชุดขาวมาทายทักว่าถ้าเปลี่ยนชื่อเป็นพนมจะเจริญรุ่งเรือง ส่วน โทนี่ จา เป็นเนมที่ผู้กำกับฯ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ตั้งให้ระหว่างเดินสายโชว์ตัวต่างประเทศ


ชอบดูหนังฟังเพลง ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่ประทับใจคือแฟนฉัน ฝันอยากแสดงร่วมกับเจ็ท ลี เพราะเขาเก่ง เป็นมวยวูซู เป็นคนมหัศจรรย์ของจีนแผ่นดินใหญ่ สถานที่ที่ชอบไป ภูชี้ฟ้า ชอบธรรมชาติโดยเฉพาะยามนอนดูท้องฟ้าซึ่งสวยเหมือนรูปวาด ผู้หญิงในอุดมคติ เข้ากันได้ เข้าใจในสิ่งที่เขาทำ และมีเสน่ห์ดึงดูดเขาได้


วัยเด็กฝันอยากเป็นเฉินหลง และบรู๊ซ ลี ไปดูหนังแล้วกลับมาฝึกเลียนแบบ เรียนจบม.3 โรงเรียนโคกกลางวิทยา จุดพลิกผันในชีวิตเกิดขึ้นเมื่อไปดูหนังไทยเรื่อง "เกิดมาลุย" ของพันนา ฤทธิไกร ดูจบปุ๊บขอให้พ่อพาไปฝากตัวกับนักบู๊รุ่นพี่คนนี้ปั๊บ ทำให้ทุกช่วงปิดเทอมตลอด 3 ปีได้เรียนรู้ประสบการณ์กองถ่ายตั้งแต่เสิร์ฟน้ำ ทำอาหาร ยกอุปกรณ์ พร้อมกับเรียนรู้ฝึกคิวบู๊การต่อสู้


กระทั่งจบม.6 โรงเรียนประสาทวิทยาคม เรียนต่อที่วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม ศึกษาศิลปะการต่อสู้ทุกอย่าง เทควันโด มวยไทย กระบี่-กระบอง ยิมนาสติก และฝึกนอกมหาวิทยาลัยกับพันนาจนได้เป็นสตั๊นต์แมน เคยแสดงแทนโรบิน ชู พระเอกหนัง "มอร์ทัล คอมแบท 2" ซึ่งยกกองมาถ่ายทำที่อยุธยา แสดงแทนเจมส์-เรืองศักดิ์ ในหนัง "แก๊งค์กระแทกก๊วน" และละคร "อินทรีแดง"


ขณะเดียวกัน ก็นำเอาศิลปะภาพยนตร์มาผสมผสานศิลปะการต่อสู้ นำพื้นฐานยิมนาสติก แม่ไม้มวยไทยมาประยุกต์ผสมกับอาวุธไทย รวบรวมทีมงานตระเวนโชว์ฝีมือตามสถานศึกษาภาคอีสานในนามชมรมกระบี่กระบอง เป็นตัวแทนไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ไทยที่ประเทศจีน แล้วร่วมกับพันนาทำโปรเจ็กต์มวยไทยเสนอปรัชญา ปิ่นแก้ว เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอ๊กชั่นฟอร์มเดือดเรื่อง "องค์บาก" ใช้เวลาถ่ายทำ 4 ปี


กิจวัตรทุกวันนี้ ตื่น 7 โมง อาบน้ำแล้ววอร์มร่างกายนิดหน่อย กินข้าว เรียนภาษาอังกฤษ 3 ชั่วโมง ออกแบบท่ามวยกับทีมงาน ศึกษาท่ามวยไทยให้มากขึ้นและซ้อมมวย อนาคตอยากเปิดโรงเรียนสอนศิลปะมวยไทยโบราณ อยากอุปถัมภ์ช้างเร่ร่อน ปลูกป่าให้ช้างอยู่ ให้ควาญช้างมีอาชีพ ส่วนภาพยนตร์ถ้ามีโอกาสสร้างเองจะสร้างเรื่องเชิดชูวีรบุรุษไทย สิ่งที่กลัวที่สุดคือความตาย เพราะทำงานอยู่บนความเสี่ยง แต่ก็ทำใจได้ว่าคนเราเกิดมาก็ต้องตาย สำคัญคือรู้หน้าที่ตนเอง